วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์
แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงเทียบเท่าระดับสากลในปี พ.ศ. 2564
พันธกิจ
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านแรงงานของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล
2. สร้างและยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการทำงาน
3. พัฒนาความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้างบนพื้นฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
4. สร้างความเชื่อมั่น การมีส่วนร่วมและความร่วมมือเพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้านแรงงานในทุกภาคส่วน
5. ส่งเสริมให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างมีความรับผิดชอบ
6. เสริมสร้าง พัฒนาองค์กรและศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของคุณธรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิแรงงานให้เทียบเท่าระดับสากล
เป้าประสงค์
1. กฎหมายและมาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง
2. ระบบการคุ้มครองสิทธิแรงงานได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
3. แรงงานเข้าถึงบริการและได้รับสิทธิประโยชน์อย่างทั่วถึง
กลยุทธ์
1. ปรับปรุง พัฒนากฎหมาย และมาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนาระบบการตรวจแรงงานตามกฎหมายเพื่อรองรับ Thailand 4.0
3. พัฒนารูปแบบ และช่องทางการประชาสัมพันธ์ ให้แรงงานเข้าถึงบริการและรับทราบสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ยกระดับคุณภาพชีวิตตลอดช่วงวัยแรงงาน
เป้าประสงค์
1. แรงงานเข้าใจสิทธิตามกฎหมายแรงงาน
2. แรงงานมีความปลอดภัยในการทำงาน
3. แรงงานได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม
4. สถานประกอบกิจการมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน (CSR)
กลยุทธ์
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจให้แรงงานมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน
2. สร้างการรับรู้ ปลูกจิตสำนึกวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ
3. ส่งเสริมและพัฒนาให้สถานประกอบกิจการมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานและมีระบบมาตรฐานแรงงานไทย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างการมีส่วนร่วม และความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ
เป้าประสงค์
1. ลดความขัดแย้งและสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
2. เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน
4. สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านแรงงานและบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน
5. สร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
เป้าประสงค์
1. สถานประกอบกิจการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
2. แรงงานเข้าใจสิทธิตามกฎหมายแรงงาน
กลยุทธ์
1. สร้างความรู้ความเข้าใจให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
2. ผลักดันและติดตามการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
4. กำกับดูแลให้แรงงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานและมีความปลอดภัยในการทำงานโดยมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : เสริมสร้าง พัฒนาองค์กรและศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงและมีธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
1. เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศและมีธรรมาภิบาล
2. บุคลากรมีความเป็น “ข้าราชการมืออาชีพ”
กลยุทธ์
1. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศและมีธรรมาภิบาล
2. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลตามแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรม
3. บริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ศึกษาวิจัย สร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านแรงงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม
5. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรกรมให้มีประสิทธิภาพสูง มีคุณธรรม จริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 : พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าประสงค์
1. มีการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการแรงงาน
2. มีเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อให้บริการแก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน
กลยุทธ์
1. บูรณาการสารสนเทศกับหน่วยงานภายนอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
2. เสริมสร้าง พัฒนา ปรับปรุง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศ รองรับการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ที่เข้าถึงง่าย และรวดเร็ว